คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่
2
1. คำว่า
"ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ ระบบ (System) หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อย ๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของ แต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท วิธีการเชิงระบบ (System Approach) วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้าน ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ วิธีระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) ปัจจัยนำเข้า (Input) หมายถึง
วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ อันเป็นต้นเหตุของประเด็นปัญหา
2) กระบวนการ (Process) หมายถึง
วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การสร้างสรรค์
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือ
ความต้องการ
3) ผลลัพธ์ (Output) หมายถึง
ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้า
ผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ ซึ่งสามารถประเมินผล
และตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ได้
3.ระบบสารสนเทศหมายถึงอะไร
ตอบ คือ การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลใน
รูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ
ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง
ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ระบบการคิด และระบบของเครื่องมือ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย
ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ - ด้านจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา มี 4 ประการ ได้แก่ ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) ความรู้ (Knowledge) ปัญญา (Wisdom) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
- ด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ
ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผล
หรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์(output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมา
เผยแพร่ในลักษณะของสารสนเทศต่อไป
-
องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป (Information
Process Systems) ประกอบ ด้วย 5องค์ประกอบดังนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(hardware) ข้อมูล(data) สารสนเทศ (information) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(software) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ (people
ware)
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ การจัดระบบสารสนเทศเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพของงานสารสนเทศ โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูล
วิธีการ ทรัพยากร
เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ (System
Analysis) วิธีการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อยคือ
1) วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน (Mission Analysis) คือ การพิจารณาทิศทางในการดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบสารสนเทศ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ผู้วิเคราะห์ต้องรู้ถึงองค์ประกอบของกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานอย่างกว้าง ๆ ให้ครอบคลุมสภาพปัญหาไปสู่สภาพที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นเกณฑ์ว่างานนั้นสำเร็จดีหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรค ข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร
2) วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ
3) วิเคราะห์งาน (Task Analysis) เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในขั้น การวิเคราะห์หน้าที่ การวิเคราะห์หน้าที่และงานเป็นสิ่งขยายขั้นการวิเคราะห์
4) วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (Method-Means Analysis) เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติ กลวิธี และสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ต้องการขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ (System Synthesis) วิธีการสังเคราะห์ระบบช่วยเกลี่ยน้ำหนักเนื้อหาหรือภาระงานของขั้นตอนต่าง ๆ ให้มีความสมดุลในการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนย่อยดังนี้
1) การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธี เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2) ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
3) ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการแก้ปัญหาแล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model) แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่าง ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง ระบบการทำงานแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน แต่อาจจะมีแบบจำลองระบบไม่เหมือนกัน
7. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ 1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน
ทำให้การทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ้งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลทีมีจุดมุ่งหมายในการทำงานอย่างเดียวกัน
ซึ่งจะส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน
8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร
มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของ รูปภาพ แสง สี เสียง รส
- ความรู้ ( Knowlege) คือ
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ ระบบเครือข่ายเฉพาะที่(LAN)
คือ
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก เช่น ภายในห้อง
หรือภายในตัวอาคาร
ระบบเครือข่ายระหว่างเมือง(MAN)
คือ
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN มักเกิดจากการเเชื่อมโยงเครือข่าย
LAN ในบริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน
เช่น การเชื่อมต่อระบบระหว่างองค์กรกับองค์กรที่อยู
ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN)
เป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง
ซึ่งอาจมีขอบเขตการเชื่อมต่อที่กว้างไกลขึ้นจาก LAN และ MAN ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อแล้วจะก่อให้เกิดเป็นระบบเครือข่ายในระดับจังหวัด
ประเทศ หรือข้ามทวีปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น