คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่
3
1. คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึงอะไร
และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ
เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข
รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างกว้างขวาง
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
คือ
1. มีความเร็วในการทำงานสูง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันสามารถประมวลผลคำสั่งในช่วงเวลา 1 วินาที ได้มากกว่าหนึ่งร้อยล้านคำสั่งจึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การฝาก – ถอนเงินจากตู้ ATM เป็นต้น
2.
,ประสิทภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ หรือเป็นปี โอกาสเครื่องเสียน้อยมาก
ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
2. คอมพิวเตอร์มีหน้าที่มาอย่างไร
ตอบ 1.
รับข้อมูลเข้า
(Input
Device)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
อุปกรณ์อินพุท ใช้สำหรับในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด โมเด็ม
จอยสติ๊ก เป็นต้น
2.
เก็บข้อมูล
(Storage
Device)
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล
และเป็นเครื่องช่วยในการบันทึกข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปีดิสก์ เทปไดรฟ์
ซีดีรอมไดรฟ์,
zip disk, MO, PD, DVD เป็นต้น
3.
ประมวลผล
(Processing
Device)
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล
คือ CPU
(Central Processing Unit) ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ "สมอง"
สำหรับ CPU
ที่หลาย
ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อมาแล้ว เช่น Intel, ADM, Cyrix เป็นต้น
4.
แสดงผลลัพธ์
(Output
Device)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
อุปกรณ์เอ้าต์พุต ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น แสดงบนจอภาพ หรือพิมพ์สู่กระดาษ
รวมทั้งเสียงที่ขับออกมาจากลำโพง เป็นต้น
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จำแนกหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
1) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
2) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์
รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
3) หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล
เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง
และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4) หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว
5) อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม
แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น
4. ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ
กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด เช่น
การตรวจสอบข้อมูลประชาชนจากระบบทะเบียนราษฎร์ ของสำนักทะเบียนราษฎร์
กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล ระบบเสียภาษี
ระบบทะเบียนการค้า ระบบทะเบียนประวัติอาชญากรรม ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ถ้าต้องการทราบข้อมูลต่างๆเหล่านี้
สมารถตรวจสอบได้โดยการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่วนประกอบที่สำคัญ
4
ส่วน ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware ) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟต์แวร์ ( Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3. ข้อมูล( Data )
4. บุคลากร ( People )
5. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ฮาร์ดแวร์
(Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ จะประกอบด้วยด้วยส่วนที่สำคัญ
4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล ( Processor )
2.ส่วนความจำ ( Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก ( Input-Output Devices )
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล ( Storage Device)
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ
หน่วยประมวลผลกลาง
( Central
Processing Unit )
หรือเรียกคำย่อว่า ซีพียู CPU คำว่าซีพียู
มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่างด้วยกันคือ
1. ตัวชิป ( Chip)
ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกล่องเครื่องที่มีซีพียูบรรจุอยู่
ความหมายส่วนที่
2
ถ้ามองทางด้านเทคนิคแล้วจะเป็นความหมายที่ไม่ถูกต้อง
เนื่องจากตัวซีพียูเป็นชิปคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เหมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM ) และแบบรอม (ROM )
ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ - แรม (Random
Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไป ทันที
- รอม (Read Only Memory – ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว
สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้
และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป
8. จานบันทึกข้อมูล ( Hard
Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ
ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น
และเครื่องขับจาน ( Hard
Disk Drive) เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ
ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าว ตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฎิบัติงานต้องการ
โดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้นส่วนการบันทึกข้อมูลได้จำนวนมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องและรุ่นที่ใช้ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ขนาด
500 เมกะไบต์ ( Megabyte) จนถึง 80 Gigabyte กิกะไบต์ หรือมากกว่านั้น
9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์
( Megabyte)กิกะไบต์ ( Gigabit)
พิกเซล ( Pixel)
กิกะเฮิร์ซ( GHz )
ตอบ MB ย่อมาจาก megabyte
(เมกะไบต์) คือ หน่วยความจุในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต)
ซึ่งบอกถึงปริมาณหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเก็บตัวอักษรได้ 1 ล้านตัว หรือมีค่าเท่ากับ 2 ยกกำลัง 20 =
1,048,567 BYTES หรือเท่ากับ 1024 กิโลไบต์นิยมเรียกสั้นๆว่า
เม็ก หรือ meg โดย 8 บิต (Bit ) =
1 ไบต์ (Bite) จริง ๆแล้ว 1 เมกะไบต์จะเท่ากับ 1,024 กิโลไบต์ หรือเท่ากับ 1,048,576
ไบต์ คิดคร่าว ๆ เท่ากับ 1ล้านไบต์
(กฎหมายของอเมริกามีกำหนดไว้ชัดเจนว่า 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1
ล้านไบต์เท่านั้น)
"gigabyte"
อ่านว่า "กิกะไบต์"
ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243
หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ
จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ) คำว่า "giga" มีค่าเท่ากับ
"พันล้าน"
ส่วนคำว่า "ไบต์" เป็นหน่วยความจำของตัวเลขฐานสองเท่ากับ 8
บิต โดยที่บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด
ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล โดยข้อมูลหนึ่งบิตมีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) และ 1 (เปิด)
โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit)
Pixel
มาจาคำว่า picture (ภาพ) กับคำว่า Element (พื้นฐาน) คือ
หน่วยพื้นฐานซึ่งเล็กที่สุดของภาพดิจิตอล เทียบได้กับจุดสีของภาพ
1 จุด หลากหลายสี หลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันถูกรวมกันทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง
แต่ 1 Pixel จะเป็นสีหนึ่งสีใดเพียงสีเดียวเท่านั้นจะมีสีอื่นไม่ได้
เนื่องจากว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการแสดงผลพิกเซลนั้นมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์มาก
เพราะทุกๆส่วนของกราฟฟิก เช่น จุด เส้น
แบบลายและสีของภาพ ล้วนเกิดจากพิกเซลทั้งสิ้น อย่างกล้องถ่ายรูปความละเอียด 5
ล้านพิกเซล นั้นหมายความว่าเมื่อถ่ายภาพที่ความละเอียดสูงสุด
(ที่กล้องสามารถจะถ่ายได้) จะได้เม็ด Pixel 5 ล้านเม็ด
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ง่ายๆว่า ยิ่งมีค่าพิกเซลสูงเท่าไหร่ภาพที่ได้ยิ่งมีความละเอียดสูงด้วย
gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์
(1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็น
ตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ
(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์
ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์
10.
จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ
จอภาพ
( Monitor )
เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์
สามารถแสดงได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยทั่วไปนิยมใช้จอภาพสี
สามารถแสดงระดับความแตกต่างของสีตั้งแต่ 16,256,65,536
และ 16,177,216 สีความละเอียดของภาพที่เรียกว่า พิกเซล Pixel
แป้นพิมพ์ ( Key Board )
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์
สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์ส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ทิ่นิยมใช้จะมี 101
แป้น และแยกแป้นอักขระและตัวเลขออกจากกัน ส่วนบนจะเป็นแป้นคำสั่งพิเศษเพื่อให้ใช้งาน
ได้สะดวกขึ้นเมาส์
( Mouse )
เป็นอุปกรณืที่มีลักษณะคล้ายตัวหนู
ส่วนของสายสัญญาณตัวอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายส่วนหางหนู เราใช้เมาส์ในการควบคุมตัวชี้ ( POINTER ) ที่ปรากฏบนจอภาพให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการได้โดยง่ายสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่งก็ได้
จะมีปุ่มควบคุม 2 ปุ่มด้วยกันโดยทำหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
1.
ปุ่มซ้ายมือถ้ากดหนึ่งครั้งหมายถึงการเลือกและถ้ากดสองครั้งติดต่อกันหมายถึงสั่งให้โปรแกรมหรือสั่งรูปที่เลือกเศษทำงาน
2. ปุ่มขวามือถ้ากดให้แสดงฟังชันก์พิเศษโดยตัวชี้เป็นตัวเลือกฟังชันก์ที่ต้องการได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น